เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อวันที่ 10 ก.พ. “นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ” คณะทำงานฝ่ายกฎหมายพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เปิดเผยว่า กรณีที่หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เสนอชื่อ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา”

 

 

ให้ได้รับการพิจารณาแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ในบัญชีของพรรคพลังประชารัฐนั้น ในการเสนอชื่อดังกล่าวต้องยื่นเอกสารตามที่

กกต. กำหนด 2 แบบ คือแบบ ส.ส. 4/29 ที่หัวหน้าพรรคต้องลงนามรับรองว่า การคัดเลือกได้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดไว้ในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ

ว่าด้วยพรรคการเมืองและข้อบังคับของพรรคการเมืองแบบ ส.ส. 4/30 ที่พล.อ.ประยุทธ์ต้องลงนามรับรองว่าเป็นผู้มีคุณสมบัติ

และไม่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นนายกฯ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ จากการตรวจสอบข้อบังคับพรรคพลังประชารัฐ ข้อ 91(1)

พบว่า การเสนอชื่อบุคคลคือ พล.อ.ประยุทธ์นั้น จะต้องให้พล.อ.ประยุทธ์มีหนังสือยินยอมก่อน และข้อ 91 วรรคสองระบุไว้ว่าการเสนอชื่อบุคคลใดที่มิได้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น

 

 

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ยังอาจเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นนายกฯ ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6)

ประกอบมาตรา 98 (3) (12) และ (15) อีกด้วย เนื่องจากมาตรา 98 (3) ห้ามเป็นเจ้าของสื่อมวลชนใดๆ แต่พล.อ.ประยุทธ์ถูกร้องว่าเป็นเจ้าของสื่อออนไลน์หลายชนิด

และพล.อ.ประยุทธ์ ยังมีฐานะเป็นหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจตามมาตรา 44 และได้รับเงินตอบแทนอีกเดือนละ 125,590 บาท

จึงอาจเข้าลักษณะเป็นข้าราชการหรือเป็นเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐตามความในมาตรา 98 (12) และ (15)

 

จากข้อมูลที่พบจำเป็นต้องไปร้องต่อ กกต.ในวันที่ 11 ก.พ.นี้ เวลา 13.30 น. เพื่อให้ กกต. พิจารณาไม่ประกาศรายชื่อพล.อ.ประยุทธ์ตามแบบ ส.ส. 4/31

เนื่องจากพล.อ.ประยุทธ์เป็นบุคคลที่ได้รับการเสนอชื่อจากพรรคพลังประชารัฐ โดยไม่เป็นไปตามข้อบังคับพรรค และเป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามที่จะเป็นนายกฯ

ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) (12) และ (15) ซึ่งโดยบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ มาตรา 89 วรรคสอง ให้ถือว่าไม่มีการเสนอชื่อบุคคลนั้น