เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เรื่องราวดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ นายเกว๋ย จวิ๋นหมิง ชายชาวจีนวัย 49 สูญเสียนางจ้าน เวินเหลียน ภรรยาผู้อายุเท่ากันไปจากโรคมะเร็งปอด ด้วยความรักอย่างสุดหัวใจ นายเกว๋ย จวิ๋นหมิง จึงตัดสินใจแช่แข็งร่างของภรรยาด้วยวิธีไครโอนิก (cryonic, cryo-preservation การรักษาร่างกายที่อุณหภูมิติดลบ)

ร่างของเธอจะถูกเก็บรักษาอยู่ภายในถังไนโตรเจนเหลวขนาด 2,000 ลิตร อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส โดยมีอุปกรณ์ช่วยพยุงชีพ เพื่อรักษาระบบการทำงานสำคัญในร่างกายของเธอ

ภรรยาเขาตกลงใจยอมให้ร่างกายของเธอถูกรักษาเอาไว้ตั้งแต่ก่อนเธอเสียชีวิต เมื่อนางจ้านเสียชีวิตลงที่โรงพยาบาล  ในมณฑลชานตง นักวิทยาศาสตร์ที่มารออยู่แล้วก็เข้าดำเนินการเก็บรักษาร่างของเธอทันที ตั้งแต่การฉีดสารเพื่อป้องกันการแข็งตัวของเลือด เชื่อมระบบร่างกายเข้ากับเครื่อง CPR เพื่อรักษาการหมุนเวียนและระดับออกซิเจนเลือด ที่หล่อเลี้ยงเซลล์ร่างกายและสมอง ตลอดจนอัดสารละลายน้ำเกลือเย็นจัดเพื่อลดอุณหภูมิร่างกายลงกระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใน 2 นาทีนับจากที่ภรรยาของนายเกว๋ย เสียชีวิต

สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทั้งหมดนี้ Yinfeng Biological Group ไม่ได้เปิดเผยตัวเลขออกมา โดยเคสของนางจ้านก็ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากสถาบันวิจัยที่เป็นของ Yinfeng Biological Group เอง กระนั้นก็มีการประเมินกันไว้ว่าอาจสูงถึง 116,000 หยวน หรือราว 547,520 บาท

การแช่งแข็งรักษาร่างกายด้วยวิธีไครโอนิกเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1967 กับร่างของ เจมส์ เบดฟอร์ด นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ส่วนในปัจจุบันมีการใช้วิธีไครโอนิกรักษาร่างกายมนุษย์ไว้ราว 350 กรณีจากทั่วโลกแล้ว แต่ก็ยังไม่มีใครถูกถูกทำให้ฟื้นกลับขึ้นมาได้ วิธีการชุบชีวิตร่างแช่แข็งยังคงอยู่ในช่วงการศึกษาวิจัยอยู่ในตอนนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาพและข้อมูลจาก Khaosod