เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2564  พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าฯ กทม. ประกาศว่าจะสั่งปิดเพื่อมาตรการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานครได้ประชุม ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 19 มี.ค. ที่ผ่านมา จึงมีมติเห็นชอบมาตรการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ (ระหว่างวันที่ 10 -15 เม.ย.64) ตามปฏิทินเดือนเมษายน 2564 เทศกาลสงกรานต์เป็นวันหยุดช่วงกลางสัปดาห์ 3 วัน คือ อังคาร-พุธ-พฤหัสบดี ที่ 13-14-15 เม.ย.64 เมื่อเพิ่มวันจันทร์ที่ 12 เม.ย. เข้ามาอีกหนึ่งวัน ก็เท่ากับว่า เหล่าข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหลายได้หยุดต่อเนื่อง 6 วัน คือ ตั้งแต่ 10-15 เม.ย. 2564 ส่วนพนักงานธนาคาร สถาบันการเงินทั้งหลาย ต้องขอแสดงความเสียใจเพราะ “ธนาคารแห่งประเทศไทย” ยังคงให้วันที่ 12 เม.ย.64 เป็นวันทำงานปกติ เช่นกันกับ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ขณะที่พนักงานบริษัทเอกชนทั้งหลาย ก็ต้องรอลุ้นเป็นกรณีๆ ไป ว่า บริษัทที่ตนเองทำงานอยู่จะประกาศให้วันที่ 12 เม.ย.เป็นวันหยุดหรือไม่

เนื้อหาอื่นที่เกี่ยวข้อง

ส่องกล้องท่องเที่ยว เทศกาล 'สงกรานต์'

“กิจกรรมที่สามารถจัดได้” ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2564 คือ

1. จัดพิธีสรงน้ำพระ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา

2. จัดพิธีรดน้ำดำหัว ตามประเพณีนิยมหรือตามรูปแบบที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.กำหนด)

1. การจัดกิจกรรม ในเทศกาลสงกรานต์ โดยกิจกรรมพื้นฐาน อาทิ การจัดพิธีสรงน้ำพระ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ทางศาสนา การจัดพิธีรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้ ให้ผู้จัดกิจกรรมและประชาชน ปฏิบัติตามประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2564 โดยเคร่งครัด กรณีมีผู้ร่วมกิจกรรมเกิน 300 คน ผู้จัดกิจกรรม ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการควบคุมโรค ต่อ สำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน

2. การจัดกิจกรรม ในเทศกาลสงกรานต์ โดยมีกิจกรรมเพิ่มเติม จากกิจกรรมพื้นฐาน ตามข้อ 1 เช่น การออกร้าน การจัดเลี้ยง ซึ่งมีผู้ร่วมกิจกรรมเกิน 100 คน ผู้จัดกิจกรรม ต้องยื่นแผนการจัดงาน และมาตรการควบคุมโรค ต่อสำนักงานเขตพื้นที่ก่อนจัดงาน

 

3. ควรหลีกเลี่ยงการจัดเลี้ยงและสังสรรค์ในกลุ่มที่มาหลากหลายพื้นที่และควรงดการรับประทานอาหารและเครื่องดื่มร่วมกันเป็นเวลานาน ทั้งนี้ ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามอาจมีความผิดตามมาตรา 18 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ เนื่องจากเป็นกรณีที่มีความจำเป็นรีบด่วนหากปล่อยให้เนิ่นช้าไปจะก่อให้เกิดผลเสียหายอย่างร้ายแรงแก่สาธารณชนหรือกระทบต่อประโยชน์สาธารณะ จึงไม่อาจให้คู่กรณีใช้สิทธิโต้แย้ง ตามมาตรา 30 วรรคสอง (1) แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ประกาศ ณ วันที่ 23 มี.ค.64

 

สิ่งสำคัญที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย | Airpaz Blog