เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

เกษตรกร ต.หนองช้างแล่น ปลูกไผ่แซมยาง สร้างรายได้ ปีละกว่าแสน ดีกว่ายาง ราคาไม่แน่ไม่นอน ไม่ได้กรีดทุกวัน

นายเปลื้อง ช่วยรุย อายุ 52 ปี เกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดตรัง มีพื้นที่สวนยางพารา เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ ที่รับทุนสงเคราะห์จาก กยท.ประเภทที่ 5 ซึ่งสามารถปลูกพืชแซมยางได้โดยได้ปลูกพืชร่วมหลากหลายชนิดลงไปในสวนยาง โดยเฉพาะไผ่ที่ปลูกไว้กระจายเต็มพื้นที่ทั้ง 8 ไร่ กว่า 10 สายพันธุ์

ประกอบด้วย ไผ่หม่าจู ไผ่กิมซุง ไผ่ซางหม่อน ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ลวก ไผ่ปักกิ่ง ไผ่มันหมู ไผ่เลี้ยงสีทอง ไผ่สร้างไพร ไผ่เค้าดาวน์จักรพรรดิ์ ไผ่ข้าวหลามหนองมน ไผ่ข้าวหลามปากแดง และไผ่ดำติมอร์ สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์

แต่ในจำนวนนี้ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก ลึกประมาณ 1 เมตร เจ้าของจึงได้ปลูกไผ่ร่วมยางเอาไว้หนาแน่นมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อหวังให้ไผ่ช่วยดูดซับน้ำที่เข้าท่วมพื้นที่ และได้ตัดหน่อไผ่ขาย มีรายได้ทุกสัปดาห์ๆ ละ 2 แต่ละครั้งได้นับร้อยกิโลกรัม

นายเปลื้อง กล่าวว่า สวนยางของตนเปิดกรีดได้นานนับปีแล้ว แต่ตนไม่เปิดกรีด เอาไว้ให้พืชร่วมพึ่งพา จะเห็นว่าต้นไผ่ที่ตนปลูกไว้สามารถสะสมอินทรีย์วัตถุได้มากมายเป็นอาหารของไผ่ ทำให้ไผ่สมบูรณ์ มีหน่อให้ตลอดเวลา

ซึ่งในช่วงหน้าแล้งที่ออกนอกฤดู บางหน่อขายได้ 70-100 บาท และสามารถตัดได้ครั้งละประมาณ 70-100 กก. ทำให้มีรายได้เดือนละ 10,000- 20,000 บาท

เฉพาะเนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งในอนาคตจะสามารถตัดเก็บหน่อได้ทุกวัน และขยายพื้นที่ปลูกไผ่เชิงเดี่ยวเพิ่มอีก 1 แปลง ทั้งนี้ การปลูกไผ่ ถ้าต้องการขายลำ จะใช้เวลาโดยรวมประมาณ 5 ปี จึงจะตัดลำขายได้ แต่ระหว่างที่ยังขายลำไม่ได้ ระหว่างทางสามารถตัดหน่อขาย เป็นรายได้ดีกว่ามาก

โดยหน่อไม้ดองหน่อไม้ดองในฤดู จะขาย กก.ละ 35 บาท ส่วนนอกฤดู จะขายราคา กก.ละ 50 บาท ขณะที่หน่อไม้สดต้มในฤดู ขายราคา กก.ละ 40 บาท แต่ถ้านอกฤดู จะขายได้ กก.ละ 60 บาท จึงมีรายได้ดีมาก เป็นรายได้หลักแทนรายได้จากสวนยาง ซึ่งราคาไม่ดี ขึ้นๆ ลงๆ และฝนตกบ่อย ไม่สามารถกรีดได้ทุกวัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง