เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

สคบ.แถลงชี้แจง ให้ ‘ผลิตภัณฑ์สารเคลือบเครื่องยนต์ Max nano’ แก้ไขฉลากให้ถูกต้อง ระบุชัด ‘น้ำมันอเนกประสงค์’ ห้ามใช้รถยนต์ แต่เอาไปหยดโซ่ เฟือง ได้

นายพิฆเนศ ต๊ะปวง รองเลขาธิการฯ สคบ. เปิดเผยว่า จากกรณีการร้องเรียนผลิตภัณฑ์สารเคลือบเครื่องยนต์แมกซ์ นาโน ซูเปอร์ ซีรีส์ (Max Nano Super Series) ที่มีนายเกริกพล จงเอื้อมกลาง หรือ เมฆ มังกรบิน เป็นเจ้าของนั้น ทางคณะกรรมการฯ ได้มีการประชุมหารือ ได้ข้อสรุปดังนี้

 1.ออกคำสั่งให้เลิกใช้หรือบรรยายสรรพคุณที่ว่า “เป็นสารเสริมที่มีโมเลกุลเล็กกว่าน้ำมันเครื่องถึง 500 เท่าจึงสามารถยึดเกาะกับผิวโลหะได้ดีถึงแม้จะมีการจอด รถไว้เป็นเวลานานๆ หรือมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องบ่อยครั้งสารเสริมก็จะไม่ออกมาพร้อมน้ำมันเครื่องสามารถลดความร้อนภายในเครื่องยนต์ลดการเสียดสี ทุกครั้งที่สตาร์ตเครื่อง ลดเสียงดังภายในเครื่องยนต์ และช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ถึง 18% เพิ่มอัตราเร่ง 14% ลดการสึกหรอ 90-98%”

รวมถึงข้อความภาษาต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน และข้อความไม่ตรงกับความจริง ที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดของสินค้า

2. การแก้ไขฉลาก กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคมาตรา 31 รายละเอียดที่ต้องมีราคาสินค้า คณะกรรมการฯ ก็ออกคำสั่งในกรณีแก้ไขให้ตรงกับประกาศฉบับที่ 17 ที่ลงวันที่ 1 ต.ค.47 เรื่อง ให้น้ำมันอเนกประสงค์เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ซึ่งประกาศดังกล่าวออกมาเพื่อป้องกันการไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดเรื่องว่าน้ำมันอเนกประสงค์นำไปใช้กับเครื่องยนต์ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่เหมาะสมกับการใช้เครื่องยนต์ เนื่องจากจะทำให้เครื่องยนต์ชำรุดเสียหาย มีอายุการใช้งานสั้นลง

โดยในประกาศระบุข้อแนะนำในการใช้ ว่า “ใช้สำหรับงานหล่อลื่นภายนอกได้ทุกประเภท เช่น ชิ้นส่วน เครื่องจักรทั่วไป เป็นน้ำมันหยอดทิ้ง น้ำมันหยดในใบเลื่อย โซ่และเฟือง หรืออื่นๆ”

นอกจากนี้ในประกาศยังระบุอีกว่า “ข้อห้ามในการใช้ต้องระบุว่า ห้ามนำไปใช้หล่อลื่นภายในเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ และเครื่องยนต์ดีเซล หนือ ใช้แทนน้ำมันเครื่อง 2T”

“ส่วนสารคอลรีเนเทต และพาราฟิน ซึ่งผู้ส่งสินค้าทางระยองได้เข้ามาชี้แจงกับสคบ.แล้วว่า สารดังกล่าวเอาไปใช้ในอุตสาหกรรมพลาสติกเพื่อให้มันนุ่ม และไม่เหมาะกับการใช้อุตสาหกรรมเครื่องยนต์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลของคณะกรรมการฉลากให้มีการแก้ไข ฉลาก และผู้บริโภคควรใช้ให้ถูกประเภท ความเห็นของคณะกรรมการอีกอย่างหนึ่ง คือการดำเนินคดีกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ 2 ประเด็นคือ การโฆษณาหรือใช้ฉลากเป็นเท็จ โทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ในฐานะผู้ผลิตแต่แสดงฉลากไม่ถูกต้อง”

ที่มา – ไทยรัฐ