เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำ เมล็ดนำมาต้มหรือต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภิกษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี

 

 

 

การกระตุ้นขนุนให้ออกลูกเตรียมอุปกรณ์ ดังนี้

1. ฆ้อน
2. มีด
3. แก่นไม้ฝาง

 

 

วิธีทำ

1. เริ่มจากนำแก่นฝางที่ได้มาผ่าด้วยมีด ให้มีขนาดประมาณไม้จิ้มฟัน ทำปลายให้แหลมเล็กน้อย แล้วนำมาตอกที่ต้นขนุน บริเวณที่อยากทำให้ขนุนออกลูก

2. อยากให้ขนุนออกลูกตรงไหน ก็ตอกแก่นฝางตรงนั้น โดยตอกเข้าไปให้จนกว่าจะถึงที่แข็งตอกไม่เข้า (ไม่ต้องพยายามตอกให้ลึกถึงแกนกลาง)

3. หลังจากนั้นให้หักส่วนที่เหลือตอกไม่เข้าออก ปล่อยทิ้งไว้ เมื่อถึงฤดูกาล หรือถึงกำหนดออกขนุนก็จะออกลูกตามจุดที่ได้ทำการตอกแก่นฝางไว้นั่นเอง

 

 

การกระตุ้นขนุนให้ลูกดก ตอกแก่นฝางลงไปในต้นขนุนให้ลึกจนกระทั่งตอกแก่นฝางลงไปไม่ได้ หากมีแก่นฝางเหลือคาอยู่ที่ต้น ให้หักออก เพียงเท่านี้ต้นขนุนจะติดลูกตรงตำแหน่งที่ตอกแก่นฝางเอาไว้ และออกลูกดก

เทคนิคดีๆ นี้เป็นไอเดียของ คุณลุงไสว ศรียา เกษตรกรคนเก่ง ต.หินตั้ง อ.เมืองนครนายก จ.นครนายก

 

 

แก่นไม้ฝาง กับต้นขนุน

แก่นฝาง น้อยคนนักที่รู้จักต้นไม้ชนิดนี้ ฝาง ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Caesalpinia sappan L. ชื่อสามัญ คือ Sappan Tree อยู่ในวงศ์ LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE ชื่ออื่นที่เรียกกัน ง้าย (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี) ฝาง ฝางส้ม (กาญจนบุรี) มีลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้พุ่มแตกกิ่งที่โคน สูง 5-8 เมตร สำต้นมีหนามโค้งสั้นๆ และแข็งทั่วทุกส่วน ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนกสองชั้น เรียงสลับกัน ใบย่อยรูปไข่หรือรูปขอบขนานกว้าง 0.6-0.8 ซม. ยาว 1.5-1.8 ซม. โคนใบเฉียง ดอก ช่อ ออกที่ซอกใบตอนปลายกิ่งและที่ปลายกิ่ง กลีบรองดอกมี 5 กลีบ ขอบกลีบเกยซ้อนกัน กลีบล่างสุดโค้งงอและใหญ่กว่ากลีบอื่น กลีบดอกสีเหลือง มี 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 10 อัน แยกเป็นอิสระ ผล เป็นฝักแบนแข็งเป็นจงอยแหลม เปลือกเป็นสันมน ปลายแหลม มีเมล็ดเป็นรูปรี 2-4 เมล็ด

ส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้ แก่นฝาง เป็นแก่นของไม้มีสีแดง มีสารที่เป็นวัตถุไม่มีสี ชื่อ Haematoxylin อยู่ประมาณ 10% วัตถุนี้เมื่อถูกอากาศ อาจจะกลายเป็นสีแดง และมีแทนนิน เรซิน และน้ำมันระเหยนิดหน่อย

แก่นไม้ฝาง กับต้นขนุน

ฝางมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งแก่นสีแดงเข้ม เรียกว่า ฝางเสน อีกชนิดหนึ่งแก่นสีเหลือง เรียกว่าฝางส้ม ใช้ทำเป็นยาต้ม 1 ใน 20 หรือยาสกัดสำหรับ Haematoxylin ใช้เป็นสีสำหรับย้อม Nuclei ของเซล ใช้แก่นฝางต้มเคี่ยว จะได้น้ำสีแดงเข้มคล้ายด่างทับทิมใช้ย้อมผ้าไหม งามดีมาก ใช้แต่งสีอาหาร ทำยาอุทัย และแก่นฝางเร่งผลขนุน หรือจะใช้การกระตุ้นขนุนให้ลูกดก ก็ใช้ได้ทั้งสองชนิด