เกาะติดข่าวดาราก่อนใคร

กดติดตาม “ทีวีพูล”

banner

ล่าสุดแร๊พ ประเทศกูมี ขึ้นอันดับ 1 บน iTunes Thailand Charts เพียง 1 สัปดาห์ ยอดวิวในยูทูปเพิ่มขึ้น 5 ล้านวิว เพจ Rap Against Dictatorship โพสต์ขอบคุณสำหรับการดาวน์โหลดเพลง 

ในขณะที่เครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง – คนส. ออกแถลงการแถลงการณ์ เรื่อง “การคุกคามสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกของพลเมือง กรณีกลุ่มศิลปิน Rap Against Dictatorship” ระบุข้อความบางส่วนว่าการสื่อความเห็นของกลุ่มศิลปิน Rap Against Dictatorship ในบทเพลงและภาพประกอบนั้น เป็นการใช้ศิลปะเพื่อกระตุ้นความรู้สึกนึกคิดตามหน้าที่ของศิลปินในอารยประเทศ และประเด็นที่พวกเขาหยิบยกขึ้นมาเปรียบเปรยล้วนเป็นประเด็นที่สังคมติดตามให้ความสนใจมาโดยตลอด ไม่สมควรที่ พล.ต.อ. ศรีวราห์ จะก้าวล่วงใช้อำนาจอย่างครอบจักรวาลเพียงเพราะเป็นความเห็นส่วนตัว ขณะเดียวกันเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็ควรจะได้พิจารณาด้วยว่าคำสั่งการนั้นเป็นคำสั่งที่เหมาะสมและถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ เพราะสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริตเป็นสิทธิที่ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แล้ว ไม่ควรจะมีอำนาจอื่นใดเหนือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ… คนส. จะร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ในการปกป้องสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของกลุ่มศิลปิน Rap Against Dictatorship ทั้งในแง่มุมกฎหมาย กระบวนการยุติธรรม และการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างถึงที่สุด

ขณะที่ป๋าเต็ด ยุทธนา บุญอ้อม ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว แนะรัฐบาลสนับสนุนอุตสาหกรรมเพลงให้มากกว่านี้ เช่นเดียวกับแร็พเปอร์ตัวพ่ออย่างกอล์ฟ ฟักกลิ่ง ฮีโร่ ที่ระบุว่า เดี๋ยวมันก็กลายเป็นแรงกระเพื่อม ช่วยอีกแชร์

ไม่เว้นแม้แต่เพจ iLaw ซึ่งปกติจะนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายและการเลือกตั้งต่างๆ แต่วันนี้เพจ iLaw นำเสนอเนื้อหา 7 เรื่องจริง ที่ประเทศกูมี พร้อมแนบลิ้งค์ยูทูปให้ไปฟังแร๊พประเทศกูมี 

เช่นเดียวกับนักเขียนสารคดีชื่อดัง วันชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ออกมาระบุว่า แร๊พประเทศกูมี สะท้อนให้เห็นถึงความอัดอั้นตันใจของผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะหนุ่มสาวในสังคม ทุกประโยค ทุกถ้อยคำ สามารถระบายความในใจของหลายคนต่อสถานการณ์ในตอนนี้ แต่แน่นอนว่า ผู้มีอำนาจไม่ชอบใจ เพราะดันพูดความจริงมากเกินไป

อย่างไรก็ตามเรื่องนี้ พล.ต.อ.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ กล่าววานนี้ว่า ได้มอบหมายให้กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) พิจารณาเนื้อหาของเพลงว่าเข้าข่ายขัดคำสั่งคสช. หรือไม่ ส่วนคนที่อยู่ในคลิปจะต้องเชิญตัวมาให้ปากคำว่า มีเจตนาทำให้เกิดความวุ่นวายหรือขัดคำสั่ง คสช.หรือไม่

ต่อมา พ.ต.อ.ศิริวัฒน์ ดีพอ รองโฆษก บก.ปอท. กล่าวว่า มิวสิควิดีโอ “ประเทศกูมี” น่าจะเข้าข่ายความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(2) “นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ” เพราะความเสียหายที่ปรากฎในเนื้อเพลงอาจกระทบกระเทือนกับเศรษฐกิจ อาจทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น สำหรับผู้ที่ส่งต่อโพสต์ก็อาจเข้าข่ายความผิด มาตรา 14(5) ของพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

สามารถดูคลิปได้ที่นี่

 

ข้อมูลจาก workpoint